วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ปยุต เงากระจ่าง ผลงานเด่น สุดสาคร







                                                  อาจารย์ปยุต เงากระจ่าง





เกิด   1 เมษายน พ.ศ. 2472
ประจวบคีรีขันธ์, ไทย
เสียชีวิต   27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (อายุ 81 ปี)
กรุงเทพมหานคร, ไทย
อาชีพ   ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนการ์ตูนไทย
ปีที่แสดง   พ.ศ. 2498-พ.ศ. 2535
ผลงานเด่น   สุดสาคร (2522)

ขอไว้อาลัยในการจากไปของท่าน


อาจารย์ปยุต เงากระจ่าง

เกิด วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ที่หมู่บ้านคลองวาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่วัยเยาว์ เด็กชายปยุตมีความหลงไหล ในตัวการ์ตูนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ กับบุคลิกของตัวตลก ในหนังตลุงอย่างไอ้แก้ว ไอ้เปลือย ไอ้เท่ง รวมถึงตัวการ์ตูนแมวเฟลิกซ์ จากหนังการ์ตูนอเมริกันเรื่อง Felix the Cat ของ Pat Sullivan ซึ่งเคยมีโอกาสเข้าไปฉายในประจวบคีรีขันธ์

แรงบันดาลใจในการสร้างภาพ ยนตร ์การ์ตูนของปยุต เกิดขึ้นเมื่อเขาได้พบกับ เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน จิตรกรชื่อดังคนหนึ่งของเมืองไทย โดยบังเอิญ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2484 การพบกันครั้งนั้น เสน่ห์ได้ชวนเด็กชายปยุต ไปทำภาพยนตร ์การ์ตูนด้วยกันเมื่อเข้ากรุงเทพ

 เมื่อปยุตเดินทางมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2487 ที่ โรงเรียนเพาะช่าง ก็ไม่ลืมที่จะออก ตามหา เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน เพื่อที่จะทำการ์ตูน ตามที่เคยสัญญา แต่ด้วยโชคชะตา ทำให้เขาคลาดกับเสน่ห ์ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ปยุตก็ยังพอทราบข่าวของเสน่ห์ และการทดลองสร้างหนังการ์ตูน จากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในช่วงนั้น










                                                     อาจารย์ปยุต เงากระจ่าง

กว่า ปยุตจะได้พบกับเสน่ห์ ก็ต่อเมื่อปยุต บังเอิญเดินผ่านวัด เห็นเหม เวชกร และช่างเขียนอีกหลายคน ซึ่งมารวมกันในงานนฌาปนกิจศพของเสน่ห์ คล้ายเคลื่อน และได้ทราบว่าการทดลอง ทำการ์ตูนของเสน่ห์เมื่อ 2 ปี ก่อนประสบความล้มเหลว เนื่องจากขาดการสนับสนุน ปยุตจึงตั้งปณิธาณ ที่จะสานต่อความตั้งใจของ เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน ในอันที่จะสร้าง ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่องแรกให้จงได้

8 เดือนต่อมา ปยุตจึงทำให้ความฝันเป็นจริง เมื่อสามารถสร้างภาพยนตร์การ์ตูน ไทยสำเร็จเป็นเรื่องแรก ตั้งชื่อ เหตุมหัศจรรย์ เป็นภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดสั้น ความยาว 12 นาที นำออกฉายเป็น รายการพิเศษสำหรับสื่อมวลชนและผู้ชมเฉพาะ ที่โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมไทย เมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวางตามหน้าหนังสือพิมพ์ สำนักข่าวสารอเมริกันได้มองเห็นความสามารถของ ปยุต ซึ่งเวลานั้นปยุต ได้ทำหน้าที่เป็นช่างเขียน ของสำนักข่าวสารอยู่แล้วโดยได้ให้เงิน 10,000 บาท และส่งปยุต ไปดูงานการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนที่ญี่ปุ่น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 จึงได้รับการนำออกฉายสู่สาธารณชน ประกอบในรายการฉายภาพยนตร์เรื่อง ทุรบุรุษทุย ของ ส.อาสนจินดา ณ โรงภาพยนตร์บรอดเวย์ พระนคร

ต่อ มา ปยุตได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน 20 นาที อีก 2 เรื่อง ได้แก่ หนุมานเผชิญภัย (ครั้งใหม่) (2500) ของสำนักข่าวสารอเมริกัน และ เด็กกับหมี (2503) ขององค์การ สปอ. นอกจากทำงานที่สำนักข่าวสารอเมริกัน แล้ว ปยุตยังรับจ้างทำหนังโฆษณาให้กับสินค้าต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งผลงานหลายชิ้น ก็ยังคงอยู่ในความทรงจำ ของผู้คนร่วมสมัยเป็นอย่างดี





                                    _________________________________



สัมพันธ์ จันทร์ผา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น