King Naresuan
ชื่อภาษาอังกฤษ King Naresuan 1
จัดจำหน่ายโดย พร้อมมิตร โปรดัคชั่น
กำหนดฉาย 18 มกราคม 2550
เรื่องย่อ
พุทธศักราช 2106 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล)
ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก
ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราช
อาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ
ครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ฉัตรชัย เปล่งพานิช)
พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรหรือพระองค์ดำ (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์)
ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก
จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์
มิให้ต้องมีภยันตราย และจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา
ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง)
เจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4
เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส
โดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า
ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง
ก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประ
เทศเฉกเช่นกัน
กาลครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา
สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง
ประดุจพระราชบุตรร่วมสาย สันตติวงศ์
ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ
ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร
นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์
พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล
แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเน
ย์ประเทศ
จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสาเพื่อจะได้
อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักร
ซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก
พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง (สรพงษ์ ชาตรี)
พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบในตำราพิชัยสงคราม
เป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร
นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ
กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญ หาผู้เสมอเหมือนมิได้
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส คือ
มังเอิน หรือ พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และพระราชนัดดา
มังสามเกียด ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง
ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้น
หาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์
ปกป้องครองแผ่นดิน
ที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน
เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดขัดพระทัย
ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรง
นองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงหยั่งรู้ว่าพระอัจฉริยภาพที่ทรงมีเหนือพระยุพราชของ
หงสาวดี กำลังชักนำภยันตรายมา
พระองค์จึงทรงเสี่ยงภัยเดินทางจากพุกามประเทศสู่มาตุภูมิ
อโยธยา-
ชื่อภาษาอังกฤษ King Naresuan 2
จัดจำหน่ายโดย พร้อมมิตร โปรดัคชั่น
กำหนดฉาย 15 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่องย่อ
หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล)
สิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์)
ได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อ
และได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราช
อาณาจักรหงสาวดี
เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของพระเจ้านันทบุเรง
สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน
ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร
และสมเด็จพระนเรศวร (พ.ต.วันชนะ สวัสดี) เองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน
มิ เพียงเท่านั้น
สมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม
ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุและศึกเมืองคังเป็นอาทิ
พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระ
ราชวงศ์แลแผ่นดินหงสา
จึงหาเหตุวางกลศึกหมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครงแต่พระ
มหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ
สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร
Synopsis
ภาพยนตร์แห่งอิสรภาพ โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล
การประกาศเอกราชที่เมืองแครง
และสังหารสุรกำมาเหนือยุทธภูมิฝั่งน้ำสะโตงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(หรือสมเด็จพระนเรศ) ในปีพุทธศักราช 2127
ได้สร้างความตระหนกแก่พระเจ้านันทบุเรงองค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่
ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาในครั้งนี้
จะเป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้าประเทศราชที่ขึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้ง
ตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่จนพระทัยด้วยติดพันศึกอังวะ
จึงจำต้องส่งเพียงทัพพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา
ทางหนึ่งนั้นพระเจ้านันทบุเรงทรงประมาทสมเด็จพระนเรศ ด้วยเห็นว่ายังอ่อน
พระชันษา
คงมิอาจรับมือจอมทัพผู้ชาญณรงค์ทั้งสองได้
ทางหนึ่งก็สำคัญว่ากรุงศรีอยุธยายัง บอบช้ำแต่คราวสงครามเสียกรุง
ไพร่พลเสบียงกรังยังมิบริบูรณ์คงยากจะรักษาพระนคร
ครั้งนั้นพม่ารามัญยกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง 2 ทาง
ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์
เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่-นรธาเมงสอ
มาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง
กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศหลายครั้งหลายคราระบือไกลถึงแผ่นดิน
ละแวก เจ้ากรุงละแวกมิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า
“จีนจันตุ” มาลอบสืบความ
ที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก
สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดได้
เมื่อเจ้ากรุงละแวกได้ทราบกิตติศัพท์การณรงค์ของพระนเรศจึงเปลี่ยนพระทัยหัน
มาสานไมตรีกับอยุธยา
และส่งพระศรีสุพรรณราชาธิราชผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา
หากแต่พระศรีสุพรรณผู้นี้ต่างจากเจ้ากรุงละแวกเพราะหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วย
อยุธยา
การได้พระศรีสุพรรณมาเป็นสหายศึกจึงประหนึ่งอยุธยาได้มาซึ่งหอกข้างแคร่
ข้างสมเด็จพระนเรศเมื่อทรงประกาศเอกราชแล้วก็จัดเตรียมการรับศึกหงสาวดี
แต่เพราะกำลังรบข้างอยุธยาเป็นรอง
จึงทรงวางยุทธศาสตร์รับศึกโดยมุ่งอาศัยกรุงศรีอยุธยาเป็นที่มั่นเพียงแห่ง
เดียว
ครั้งนั้นได้โปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนืออันเป็นแคว้นสุโขทัยเดิมลงมารวมกับ
ครัวที่อยุธยา การณ์ปรากฏว่าเจ้าเมืองพิชัย
และสวรรคโลกข้าหลวงเดิมแข็งเมืองไม่เทครัวลงมาสมทบ
จึงทรง ยึดเมืองแล้วลงทัณฑ์มิให้เป็นเยี่ยงอย่าง
สมเด็จพระนเรศทรงเห็นว่ากำลังข้างอยุธยายังเป็นรองพม่ารามัญ
จึงทรงปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์การรบเสียใหม่
โดยมิปล่อยให้ทัพพระยาพะสิมและนรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่
เข้ามารวมกำลังผนึกล้อมร่วมกันตีกรุงศรีอยุธยา
ครั้งนั้นทรงจัดทัพออกรับศึกในแขวงหัวเมือง
แลด้วยทัพพม่ารามัญแยกสายเข้าตีเป็นสองทางเดินทัพช้าเร็วไม่เสมอกัน
จึงทรงเทกำลังเข้ารับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี
ตั้งพระทัยจะตีทัพเบื้องประจิมทิศก่อน
แล้วจึงเทกำลังเข้าตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เบื้องอุดรทิศภายหลัง
การทั้งหมดทั้งสิ้นต้องทำแข่งกับเวลา
หากพลาดท่า แม้เพียงก้าวอยุธยาก็ไม่พ้นพินาศ
ถึงแม้ครั้งนั้นทัพพม่ารามัญจะมิได้ยกมาดั่งทัพกษัตริย์เช่นศึกพระเจ้าช้าง
เผือกบุเรงนอง แต่ไพร่พลก็มากเหลือประมาณ
เพียงพอจะสร้างความย่อยยับให้ เหล่าอาณาประชาราษฎร์เกินคาดเดา
ภายใต้บรรยากาศกลิ่นอายสงครามนับแต่ศึกจีนจันตุ ตลอดถึงศึกพระยาพะสิมและ
ศึกพระเจ้าเชียงใหม่ ในพระนครก็เกิดไฟรักโชติขึ้นท่ามกลางไฟสงคราม
กลายเป็นเรื่องรักระหว่างรบ
ด้วย “เลอขิ่น” ธิดาเจ้าเมืองคัง มีอันมาพบ “เสือหาญฟ้า”
คนรักเก่าที่รอดชีวิตมาแต่ศึกเมืองคัง โดยบังเอิญ
เกิดขัดข้องเป็นรักสามเส้ากับ “พระราชมนู” คนรักใหม่ทหารเสือพระนเรศ
ไฟรักยิ่งลุกลามเมื่อนางพระกำนัลทรงเสน่ห์นาม “รัตนาวดี” มาทอดไมตรีให้พระราชมนู เกิดเป็นปมรัก ซ้อนปมรบ
ทางฝ่ายหงสาวดีนั้น
พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่ารามัญพระองค์ใหม่มีใจพิศวาส
พระสุพรรณกัลยา-พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศ หมายจะได้มาแนบข้าง
ซ้ำพระนเรศอนุชา มาประกาศเอกราชท้าทายอำนาจของพระองค์
ทำให้สถานะของพระสุพรรณกัลยาในฐานะ องค์ประกันต้องสุ่มเสี่ยงต่อราชภัย
พระสุพรรณกัลยาซึ่งขณะนั้นมีพระราชโอรสด้วยพระเจ้าบุเรงนองแล้ว
ทรงถูกพระเจ้านันทบุเรงข่มขู่
บีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างการยอมพลีกายถวายตัวเป็น บาทบริจาริกา
หรือยอมจบชีวิตด้วยการถูกย่างสดตามโทษานุโทษของพระอนุชา
ชะตากรรมของพระพี่นางสุพรรณกัลยานั้นสุดรันทด
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงเสร็จศึกอังวะก็เตรียมการเปิดศึกกับอยุธยา
ทรงระดมไพร่พล แต่งเป็นทัพกษัตริย์
กองทัพใหญ่โตเหลือคณากว่าทัพบุเรงนองช้างเผือก เฉพาะไพร่ราบมีกำลัง
รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 240 , 000 คน
ทัพนี้หมายมุ่งบดขยี้อยุธยาลงเป็นผุยผงหากทัพพระยาพะสิมและทัพพระเจ้า
เชียงใหม่ตีกรุงไม่สำเร็จ
แต่สมเด็จพระนเรศก็สู้ศึกนันทบุเรงและนำพากรุงศรีอยุธยา
ให้รอดจากภัยสงคราม กู้บ้านเมืองมิให้ต้องตกเป็นประเทศราชหงสาซ้ำสองได้ด้วยกุศโลบาย การศึกที่เหนือชั้นด้วยพระอัจฉริยภาพ
Director
ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล
Starring
วันชนะ สวัสดี , วินธัย สุวารี , นพชัย ชัยนาม , ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง
, คมกริช อินทรสุวรรณ , สรพงษ์ ชาตรี , ฉัตรชัย เปล่งพานิช ,
จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
, นภัสกร มิตรเอม , ชลัฏ ณ สงขลา , สมชาติ ประชาไทย , อินทิรา
เจริญปุระ , ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ , เกรซ มหาดำรงค์กุล , อคัมย์สิริ
สุวรรณศุข
, ศิรพันธ์ วัฒนจินดา , เกศริน เอกธวัชกุล , พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ ,
ดอม เหตระกูล , อานนท์ สุวรรณเครือ , ยาโน คาซูกิ , โกวิทย์
วัฒนกุล , ดิลก
ทองวัฒนา , เศรษฐา ศิระฉายา , ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
Synopsis
เมื่อศึกสองแผ่นดินพลิกมาเป็นศึกสองกษัตริย์ที่รบเพื่อรักษาเอกราชระคนไปกับ
การรบเพื่อชำระแค้น
จึงเป็นสงครามเลือดและอารมณ์ที่เผ็ดร้อนกว่าทุกสงครามที่ขับเคี่ยวกันมา
ภายหลังการประกาศเอกราชของพระนเรศ ในปี พ.ศ. ๒๑๒๗ แล้ว พระเจ้า
หงสาวดีนันทบุเรงได้โปรดให้กรีฑาทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาคืนเป็นเมืองขึ้นถึง ๔
ครั้ง คือ ในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ
ในปี พ.ศ. ๒๑๒๗ – ๒๑๒๘ ศึกนันทบุเรงปี พ.ศ. ๒๑๒๙ ศึกมหาอุปราชาในปี พ.ศ.
๒๑๓๓ และศึกยุทธหัตถีในปี พ.ศ. ๒๑๓๕
โดยศึกสำคัญที่ทำอยุธยาต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์อันสุ่มเสี่ยงต่อการ
สิ้นสูญแผ่นดินคือ ศึกนันทบุเรง ซึ่งน้อยคนที่เคยได้ยินหรือระลึกได้
แต่วีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นที่จดจำ
ทั้งการออกปล้นค่ายพม่าจนเป็นที่มาของเรื่อง
พระแสงดาบคาบค่าย หรือการสังหารลักไวทำมู ทหารเอกข้างหงสาวดี ล้วนอุบัติในศึกนันทบุเรงทั้งสิ้น
ภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ “ศึกนันทบุเรง”
ถ่ายทอดเรื่องราวอันเป็นผลจากการปราชัยของหงสาวดีในคราวศึกพระยาพะสิมและพระ
เจ้าเชียงใหม่
ซึ่งทำให้พระเจ้านันทบุเรงทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของสมเด็จ
พระนเรศวร และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา
จึงทรงยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราชธานีสยามหวังให้ราบ
เป็นหน้ากลองเพื่อเป็นการแก้มือ และเพื่อรักษาซึ่งพระเกียรติยศ
มิให้เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชในการปกครองของฝ่ายพม่า
กองทัพกษัตริย์ของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงมีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม
กว่าทุกศึก ประกอบด้วยช้าง ๓ , ๒๐๐ ทัพม้า ๑๒ , ๐๐๐
และไพร่ราบซึ่งมีจำนวนถึง ๒๕๒ ,
๐๐๐ โดยมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถมาร่วมรบ ทั้งพระมหาอุปราชา มังจาปะโร และลักไวทำมูทหารกล้า
กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่น่าเกรงขามของทัพหงสาวดีที่ยกเข้ามานี้
ส่งผลให้เจ้าเมืองในขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักรอยุธยาข้างฝ่ายเหนือประหวั่น
พรั่นพรึงถึงกับสมคบคิดกัน
แปรพักตร์เข้าสมานสมัครพระเจ้านันทบุเรงรบสมเด็จพระนเรศวร
เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรต้องเผชิญทั้งศึกนอกและศึกใน
สถานการณ์กลับยิ่งบีบคั้นให้คับขันยิ่งขึ้น
เมื่อพระศรีสุพรรณธรรมาธิราช พระอนุชาเจ้ากรุงละแวกซึ่งขัดพระทัยสมเด็จ
พระนเรศวรแต่กาลก่อน ได้ยุยงให้พระเชษฐาตัดสัมพันธไมตรีกับอยุธยา
ละแวกจึงกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่พร้อมจะกระหน่ำซ้ำเติมสยามให้ย่อยยับหากมี
อันพลาดท่าเสียทีในศึกนันทบุเรงนี้
ภัยรอบด้านบีบรัดให้สมเด็จพระนเรศวรทรงต้องเผชิญศึกอย่างโดดเดี่ยว
ซ้ำเคราะห์กลับทับทวีคูณเมื่อสหายศึก เช่น เลอขิ่น และกองกำลังเมืองคัง
ซึ่งร่วมกรำศึก
กันมาแต่เบื้องต้นคิดถอนตัวตีจากเนื่องจากพิษรักระหว่างรบที่จบลงด้วยความ
ร้าวฉานระหว่างเลอขิ่นกับพระราชมนูขุนศึกคู่พระทัย
ความขัดแย้งด้วยเหตุส่วนตัวได้บานปลายกลายเป็นภัยของแผ่นดินในคราวคับขัน
เมื่ออยุธยาต้องเผชิญศึก
ซึ่งประมาณได้ว่าเป็นมหาสงครามภายใต้โทสจริตของพระเจ้านันทบุเรง
ด้วยข้อจำกัดที่รุมเร้าหลายประการ ผสานกับจำนวนไพร่พลที่เป็นรองหงสาวดี
อยู่หลายขุม
ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงจำต้องปรับยุทธศาสตร์การตั้งรับทัพหงสาวดี
โดยทรงใช้พระนครศรีอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบเป็นฐานบัญชาการรบ
แต่เพียงแห่งเดียว
ทรงส่งกำลังออกไปปักปราการ
วางแนวป้องกันมิให้พม่าเข้ามาปลูกค่ายใกล้ขอบคูพระนครและกำแพงเมือง
ทั้งยังแต่งกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นค่ายข้าศึกอย่างอาจหาญ
เมื่อศึกเหนือเสือใต้รุมกระหน่ำ
ขุนนางผู้ใหญ่ขาดสามัคคีคิดคดคำนึงแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง
จอมทัพผู้รั้งราชบัลลังก์และความอยู่รอดของแผ่นดินก็มาพลาดท่า
ต้องศาสตรากลางสมรภูมิศึก
ยอดทหารเอกกรุงศรีถูกขุนศึกผู้ชาญณรงค์กว่าจับเป็นเชลย
ชะตากรรมกรุงศรีอยุธยา และสมเด็จพระนเรศวรจะลงเอยอย่างไร
ต้องติดตามในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ภาค ๔ “ศึกนันทบุเรง”
________________________________________
Sampan Chanpa