BRAM STOKER - COUNT DRACULA
ท่านผูอ่านเคยได้ยินชื่อ Vlad the Impalor บ้างไหมเอ่ย ? ถ้าเปล่าเคย ก็มิต้องเป็นกังวล ค่อย ๆ อ่านไปแล้วท่านก็ย่อมจะถึงบางอ้อเองครับ Vlad the Impalor หรือวลัดจอมนักเสียบ เป็นเจ้าผู้ครองนครที่มีชื่อเกือบจะเป็นไทย ๆ คือชื่อนครวัลลาชัย เมื่อห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว ลือกันว่าเจ้าหลวงเมือง วัลลาชัย ตนนี้ท่านอำมหิตโหดเหี้ยมผิดผู้คน บรรดาประชาราษฎร์ที่อยู่ในบังคับ หรือแม้แต่ผู้ใกล้ชิดของท่าน ลงได้กระทำความผิดแล้วโทษทันณฑ์ที่ได้รับก็มีสถานเดียว คือเอาตัวไปเสียบประจาน ครั้นเสียบมาก ๆ เข้า คือเสียบกันร่วมแสน ๆ คิดเป็นร้อยละก็ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้คนพลเมือง เจ้าโหดตนนี้ก็เลยได้รับการการขนานนามว่า The Impalor - จอมนักเีสียบ
ในสมัยที่เจ้าหลวงวลัด ตนนี้นั่งเมือง คือในสมัยคริสตศตวรรษที่สิบสีตอนปลาย ๆ นครวัลลาชัยเป็นหัวเมืองเอกของแคว้นทรานซิลเวเนีย ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรูมาเนียปัจจุบัน เจ้าหลวงวลันมีปราสาทใหญ่อยู่ในหุบเขาคาร์เปเธียน ทางพรมแดนด้านเหนือเขตติดต่อกับแคว้นยูเครนของสหภาพโซเวียต เมื่อยังมีชีวิตอยู่เจ้าหลวงวลันท่านมีชื่อเรียกขานกันลับหลังอยู่อีกชื่อหนึ่งคือ ชื่อ "ราชบุตรของยมบาล"
คำว่าราชบุตรยมบาล ถ้าออกสำเนียงฮังกาเรียนอันเป็นภาษาถิ่นของชาวแคว้นทรานซิลเวเนียให้ฟังกันชัด ๆแล้วท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่านก็ต้องร้องอ๋อยาว ๆ ออกมาด้วยความซึมทราบทันที่ ราชบุตรของยมบาลนั้น ชาวแคว้นทรานซิลเวเนียเขาเรียกกันว่า
แดร็กคิวล่า !! ปีนี้เป็นปีที่หนึ่งร้อยถ้วน ๆ ที่มีผู้ปลุกเอาผีดิบแดร็กคิวล่าให้ลุกขึ้นมาอาละวาด ฉะนั้นข้ออนุญาตผู้อ่าน ขอทำบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบสักตอน ท่านผู้อ่านครับ !! คนหัวแหลมที่ไปปลุกผีดิบแดร็กคิวล่าขึ้นมาเขย่าขวัญชาวโลก จนร่ำรวยเป็นกอบเป็นกำไปอย่างรวดเร็วทันใจนั้น เป็นเสมียนศาลเมืองดับบลิน ประเทศไอร์แลนด์เหนือ เป็นคนไอริชชึ่อ แบรม ซะโต๊คเกอร์ แบรมก็เป็นคำย่อของชื่ออับบราแฮมตามแบบฉบับของชาวไอริช เมื่อเป็นเสมียนศาล แบรมเคยร่วมไปกับคณะชันสูตรพลิกศพผู้ที่ถูกพวกกบฏลอบฆ่าตายเป็นเบื่อ ได้เห็นเลือดเห็นเนื้อจนเคยชิน ประกอบกับตอนนั้นนวนิยายขายดีเรื่องนักสืบเชอร์ลอคโฮมส์ กำลังมาแรง แบรมซึ่งรักการอ่านการเขียนก็อยากจะเอาอย่างบ้าง จึงเอ่ยปากเพื่อนฝูงว่าอีกสักหน่อยเขาจะเขียนเรื่องสยองขวัญบ้าง เขียนกันให้เลือดเปรอะหน้ากระดาษเลยที่เดียว และพอบอกเพื่อนบอกฝูงได้ไม่นาน แบรมก็ลาออกจากงานศาล เดินทางเ้ข้าไปต่อสู้กับชีวิตที่แสนจะสับสนในกรุงลอนดอน และไปได้งานที่โรงละครแห่งหนึ่ง โรงละครแห่งนี้มีเซอร์เฮนรี่ เออร์วิง ดาราที่มีชื่อเสียงเป็นหุ่นส่วนใหญ่ ขณะที่แบรมไปได้งานที่นั่น โรงละครแห่งนั้นกำลังแสดงเรื่อง The flying Dutchman เรื่องลึกลับโลดโผนซึ่งมีเซอร์เฮนรี่ เออร์วิงแสดงเป็นตัวชูโรง
บุคลิกภาพของเซอร์เฮนรี่ เออร์วิงเป็นที่ติดตาตรึงใจของหนุ่มน้อยชาวไอริชคนนี้เป็นอย่างมาก มากจนคิดว่าถ้าจะเขียนนวนิยายสยองขวัญเมื่อไหร่ ก็จะจำลองเอาแบบของเซอร์เฮนรี่มาเป็นบุคลิกของตัวเอกของนวนิยายเลือดเปรอะหน้ากระดาษของตน ทั้งที่ตนเองก็ยังไม่รู้เลยว่าจะเขียนไปในทำนองไหน และให้ชื่อเรื่องว่าอะไร จนกระทั้ง จนกระทั้งมีเวลาพอที่จะเข้า บาร์ได้ จึงพอจะมองเห็นช่องทาง คำว่าเข้าบาร์ของคนอังกฤษนั้นแปลว่าเข้าเรียนกฏหมายในสำนักสอนกฏหมายที่เรียกว่าอินน์ต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่หลายอินน์ด้วยกัน ไม่ใช่เข้าบาร์เหล้าหรือเข้าห้องกรง
เมื่อเข้าเรียนกฏหมายแล้ว แบรมก็ได้มีโอกาสสนิทสนมกับศาสตราจารย์ อาร์มินิอุส แวมเบอรี่ นักวิชาการกฏหมายชาวฮังเกเรียน ซึ่งได้รับเชิญให้มาสอนวิชากฏหมายเปรียบเทียบ ศาสตราจารย์ อาร์มินิอุส แวมเบอรี่ ก็คงจะเหมือนคนพลัดบ้านหลงเมืองทั่ว ๆ ไป ซึ่งพอคิดถึงบ้านหนักเข้าก็อดเล่าเรื่องแปลก ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของตนให้ผู้ใกล้ชิดฟังพอเป็นเครื่องระลึกถึงความหลัีง และในคืนวันหนึ่งแบรมก็ได้รับฟังเรื่อง Vlad the Impalor จากปากของท่านศาสตราจารย์เอง พอท่านศาสตราจารย์เล่าถึงชื่ออีกชื่อหนึ่งของ Vlad the Impalor คือชื่อ แดร็กคิวล่า แบรมก็บังเกิดความประทับใจ พยายามฟังเรื่องราวของแดร็กคิวล่าตั้งแต่ต้นจนจบ จบแล้วก็สารภาพกับศาสตราจารย์แวมเบอรี่ว่า ตนเองตั้งใจจะเขียนนวนิยายสยองขวัญมานานแล้ว แต่ยังหาชื่อเรื่องและหาเค้าโครงเรื่องไม่ได้เพิ่งจะมาได้วันนี้ พร้อมกันนั้นก็ได้ขอร้องให้ท่านศาสตราจารย์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ซึ่งทางศาสตราจารย์แวมเบอรี่ก็ตอบตกลง และก็ด้วยเหตุนี้ ในปีต่อมาคือปี ๑๘๘๗ นวนิยายสยองขวัญเรื่องแดร็กคิวล่าก็ปรากฏออกมาสู่สายตานักอ่าน
บุคลิกของเคานท์ แดร็กคิวล่านั้นจำลองไปจากเซอร์เฮนรี่ เออร์วิง และศาสตราจารย์แวมเบอรี่ก็กลายเป็นศาสตราจารย์อับบราแฮมแวนเฮลลิงอย่างรู้กัน หนังสือเรื่องแดร็กคิวล่าได้รับการตอนรับอย่างกว้างขวาง มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศไม่ต่ำกว่า ๓๔ ภาษา แบรม ซะโ๊ต๊กเกอร์นอนกินลิขสิทธิ์ค่าเรื่องจนถึงแก่กรรมในปี ๑๙๑๒
ต่อมาในปี ๑๙๒๗ เพื่อนสนิทคนหนึ่งของแบรม ซะโต๊กเกอร์ ชื่อ แฮมิลตัน ดีน เกิดมีความคิดขึ้นมาว่าเรื่อง สยองขัญเรื่องนี้ น่าจะมีการนำมาทำเป็นละครเรื่องใหญ่ จึงระดมหุ้นส่วนจัดการแสดงขึ้นที่โรงละครโคเวนท์การ์เดนท์ ตัวชูโรงคือตัวเคานท์แดร็กคิวล่านั้น ตกลงให้เบลลา ลูโกซี่ ดาราใหญ่สวมบทบาท ลูโกซี่ มีเชื้อสายฮังเกเรียน ฉะนั้นจึงรับบทบาทและออกสำเนียงเสียงพูดได้ซาบซึ้งถึงใจพระเดชพระคุณ ในวันแสดงรอบปฐมทัศน์นั้นปรากฏว่ามีคนดูเป็นลมเอิ้กอ้ากไป ๒๙ คนและคนดูอีกนางหนึ่งคลอดลูกก่อนกำหนดออกมาจนคาวเลือดไปทั่วโรงละคร ในรอบต่อ ๆ มาจึงได้มีการจัดหมอจัดพยาบาลจากโรงพยาบาลควีนอะเลกซานดร้ามาเตรียมไว้คอยบำบัดรักษา คนดูที่พาลเป็นลี้เป็นลม ตรงหน้าโรงละคร มีป้ายประกาศหราว่าทางโรงละครไม่รับผิดชอบในกรณีที่คนดูเกิดมาช็อคหรือมาหัวใจวายตายในโรง ละครเรื่องนี้ย้ายไปแสดงที่บรอดเวย์ นิวยอร์คในปีต่อมา
และปีนั้นก็เ้ป็นปีทองของโรงถ่ายหนังฮอลีวู้ด เป็นปีที่มีการถ่ายทำหนังพูดออกมาเสนอฉายให้คนดูเป็นครั้งแรก ( หมายเหตุ : หนังพูดเรื่องแรกคือหนังเรื่อง The Jass Singer ผลิตโดยบริษัทวอเนอร์ บราเดอร์ ) เมื่อแมวมองเห็นว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังประเภททำเงินทำทองชนิดดีหนึ่ง ลูโกซี่ ก็ถูกประมูลตัวด้วยเงินจำนวนมหาศาลให้ไปนำแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้เลยที่เดียว ลูโกซี่ผูกขาดในการแสดงเป็นแดร็กคิวล่า หลายหน จนถึงแก่กรรมในปี ๑๙๕๖ เล่ากันว่าชุดที่เจ้าภาพแต่งให้กับศพของลูโกซี่ในวันฝังนั้น คือชุดเสื้อคลุมของเคานท์แดร็กคิวล่านั่เอง
ในปี ค.ศ. ๑๙๕๘ คือสองปีหลังจากที่ลูโกซี่ถึงแก่กรรม บรรดาผู้บริหารของกองถ่ายแฮมเมอร์ ฟิลด์ ของอังกฤษ เห็นว่าถ้าเลือกตัวเคานท์ แดร็กคิวล่าได้เหมาะเจะแล้ว หนังเรื่องนี้ถ่ายทำอีกกี่ครั้ง ๆ ก็ไม่มีวันขาดทุน จึงได้มีการเสาะแสวงหาตัวผู้แสดงเข้าทำนองพลิกแผ่นดินหา ผลสุดท้ายก็ตกลงได้ คริสโตเฟอร์ ลี นักกีฬาเอกที่สูงหกฟุตห้านิ้วมาแสดงเป็นตัวท่านเคานท์ แดร็กคิวล่า
คริสโตเฟอร์ ลี
วิจารณ์กันว่าบทบาทของแดร็กคิวล่าที่สวมบทบาทโดย คริสโตเฟอร์ ลีนั้น แพ้บทบาทของ เบลลา ลูโกซี่ อย่างชนิดหายห่วง คริสโตเฟอร์ ลี นั้นมีลักษณะละมุนละม่อมเหมือน ดักกลั้ส แฟร์ แบ็งค์ ผู้พ่อ ฉะนั้นแฟนแดร็กคิวล่า โดยเฉพาะที่เป็นอิตถีเพศแทนที่จะเกรงกลัว กลับขยับเข้าใกล้ วี้ดว้ายอยากให้แดร็กคิวล่าลี กัดคอเพื่อสูบเลือด ซึ่งก็เป็นทางทำมาหาได้ของผู้ผลิตไปในอีกรูปแบบหนึ่ง สรุปแล้วเรื่องแดร็กคิวล่าของ แบรม ซะโต๊กเกอร์ ถ้านำมาถ่ายทำเป็นหนังเมื่อไหร่ ๆ แล้ว ก็ไม่มีทางที่จะขาดทุนกำไร
ส่วนปัญหาว่าหนังเรื่องนี้จะเข้าฉายโรงไหน ๆ ในเมืองไทยนั้น ( ปีที่พูดถึงภาพยนต์เรื่องนี้เป็นปี ๒๕๓๑ ยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ส่วนใหญ่ผมเองชมมาเกือบทุกเรื่องทุกตอน ใน ทีวี เป็นSeries. ผมก็ได้ชมตอนเด็ก ๆ ผมจำได้ เป็นภาพยนตร์ ขาวดำ ปัจจุบันพอจะหาชมใน Youtube ได้บ้างครับ) เรื่อง บานาบัส ใน ทีวี สีไว้ทุกข์ ครับ
_______________________ สัมพันธ์ จันทร์ผา
บุคลิกของเคานท์ แดร็กคิวล่านั้นจำลองไปจากเซอร์เฮนรี่ เออร์วิง และศาสตราจารย์แวมเบอรี่ก็กลายเป็นศาสตราจารย์อับบราแฮมแวนเฮลลิงอย่างรู้กัน หนังสือเรื่องแดร็กคิวล่าได้รับการตอนรับอย่างกว้างขวาง มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศไม่ต่ำกว่า ๓๔ ภาษา แบรม ซะโ๊ต๊กเกอร์นอนกินลิขสิทธิ์ค่าเรื่องจนถึงแก่กรรมในปี ๑๙๑๒
ต่อมาในปี ๑๙๒๗ เพื่อนสนิทคนหนึ่งของแบรม ซะโต๊กเกอร์ ชื่อ แฮมิลตัน ดีน เกิดมีความคิดขึ้นมาว่าเรื่อง สยองขัญเรื่องนี้ น่าจะมีการนำมาทำเป็นละครเรื่องใหญ่ จึงระดมหุ้นส่วนจัดการแสดงขึ้นที่โรงละครโคเวนท์การ์เดนท์ ตัวชูโรงคือตัวเคานท์แดร็กคิวล่านั้น ตกลงให้เบลลา ลูโกซี่ ดาราใหญ่สวมบทบาท ลูโกซี่ มีเชื้อสายฮังเกเรียน ฉะนั้นจึงรับบทบาทและออกสำเนียงเสียงพูดได้ซาบซึ้งถึงใจพระเดชพระคุณ ในวันแสดงรอบปฐมทัศน์นั้นปรากฏว่ามีคนดูเป็นลมเอิ้กอ้ากไป ๒๙ คนและคนดูอีกนางหนึ่งคลอดลูกก่อนกำหนดออกมาจนคาวเลือดไปทั่วโรงละคร ในรอบต่อ ๆ มาจึงได้มีการจัดหมอจัดพยาบาลจากโรงพยาบาลควีนอะเลกซานดร้ามาเตรียมไว้คอยบำบัดรักษา คนดูที่พาลเป็นลี้เป็นลม ตรงหน้าโรงละคร มีป้ายประกาศหราว่าทางโรงละครไม่รับผิดชอบในกรณีที่คนดูเกิดมาช็อคหรือมาหัวใจวายตายในโรง ละครเรื่องนี้ย้ายไปแสดงที่บรอดเวย์ นิวยอร์คในปีต่อมา
และปีนั้นก็เ้ป็นปีทองของโรงถ่ายหนังฮอลีวู้ด เป็นปีที่มีการถ่ายทำหนังพูดออกมาเสนอฉายให้คนดูเป็นครั้งแรก ( หมายเหตุ : หนังพูดเรื่องแรกคือหนังเรื่อง The Jass Singer ผลิตโดยบริษัทวอเนอร์ บราเดอร์ ) เมื่อแมวมองเห็นว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังประเภททำเงินทำทองชนิดดีหนึ่ง ลูโกซี่ ก็ถูกประมูลตัวด้วยเงินจำนวนมหาศาลให้ไปนำแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้เลยที่เดียว ลูโกซี่ผูกขาดในการแสดงเป็นแดร็กคิวล่า หลายหน จนถึงแก่กรรมในปี ๑๙๕๖ เล่ากันว่าชุดที่เจ้าภาพแต่งให้กับศพของลูโกซี่ในวันฝังนั้น คือชุดเสื้อคลุมของเคานท์แดร็กคิวล่านั่เอง
ในปี ค.ศ. ๑๙๕๘ คือสองปีหลังจากที่ลูโกซี่ถึงแก่กรรม บรรดาผู้บริหารของกองถ่ายแฮมเมอร์ ฟิลด์ ของอังกฤษ เห็นว่าถ้าเลือกตัวเคานท์ แดร็กคิวล่าได้เหมาะเจะแล้ว หนังเรื่องนี้ถ่ายทำอีกกี่ครั้ง ๆ ก็ไม่มีวันขาดทุน จึงได้มีการเสาะแสวงหาตัวผู้แสดงเข้าทำนองพลิกแผ่นดินหา ผลสุดท้ายก็ตกลงได้ คริสโตเฟอร์ ลี นักกีฬาเอกที่สูงหกฟุตห้านิ้วมาแสดงเป็นตัวท่านเคานท์ แดร็กคิวล่า
คริสโตเฟอร์ ลี
วิจารณ์กันว่าบทบาทของแดร็กคิวล่าที่สวมบทบาทโดย คริสโตเฟอร์ ลีนั้น แพ้บทบาทของ เบลลา ลูโกซี่ อย่างชนิดหายห่วง คริสโตเฟอร์ ลี นั้นมีลักษณะละมุนละม่อมเหมือน ดักกลั้ส แฟร์ แบ็งค์ ผู้พ่อ ฉะนั้นแฟนแดร็กคิวล่า โดยเฉพาะที่เป็นอิตถีเพศแทนที่จะเกรงกลัว กลับขยับเข้าใกล้ วี้ดว้ายอยากให้แดร็กคิวล่าลี กัดคอเพื่อสูบเลือด ซึ่งก็เป็นทางทำมาหาได้ของผู้ผลิตไปในอีกรูปแบบหนึ่ง สรุปแล้วเรื่องแดร็กคิวล่าของ แบรม ซะโต๊กเกอร์ ถ้านำมาถ่ายทำเป็นหนังเมื่อไหร่ ๆ แล้ว ก็ไม่มีทางที่จะขาดทุนกำไร
ส่วนปัญหาว่าหนังเรื่องนี้จะเข้าฉายโรงไหน ๆ ในเมืองไทยนั้น ( ปีที่พูดถึงภาพยนต์เรื่องนี้เป็นปี ๒๕๓๑ ยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ส่วนใหญ่ผมเองชมมาเกือบทุกเรื่องทุกตอน ใน ทีวี เป็นSeries. ผมก็ได้ชมตอนเด็ก ๆ ผมจำได้ เป็นภาพยนตร์ ขาวดำ ปัจจุบันพอจะหาชมใน Youtube ได้บ้างครับ) เรื่อง บานาบัส ใน ทีวี สีไว้ทุกข์ ครับ
_______________________ สัมพันธ์ จันทร์ผา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น