วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของคำว่า " หนัง "



                                                ความเป็นมาของคำว่า "หนัง"



หนัง  ที่ใช้แทนคำว่า ภาพยนตร์   คำว่าหนังมาจากไหน  ประมาณร้อยปีเห็นจะได้  มีมหรสพอย่างหนึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยที่ไม่มีใครนึกถึงหรอกครับว่า  มันจะกลายเป็นมหรสพที่มีระบบการผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างทุกวันนี้  และก็คงไม่มีใครนึกอีกเช่นกัน  มันจะกลายเป็นสิ่งมีอิทธิพลครอบงำมนุษย์ทั่วโลก  และกลายเป็นวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของอเมริกาในทุกวันนี้


ตอนที่มหรสพชนิดนี้ถูกพัฒนาในยุคแรก ๆ   คนเขาเรียกชื่อไปต่าง ๆ นานา  อยู่ที่เจ้าของจะตั้งชื่อว่าอะไร ?  แต่พอมันพัฒนาเข้ารูปเข้ารอยแล้วก็มีชื่อเป็นสากลที่เข้าใจความหมายกันได้ โดยตั้งชื่อตามนัยที่เป็นลักษณะเด่้นตามแก่่นแท้ของมหรสพ  เข้าเรียกกันว่า "รูปภาพและการเคลื่อนได้"


รูปภาพและการเคลื่่่่่อนได้มีที่กำเนิดที่ไหน  ในฝรั่งเศสเรียกว่า  "ซีเนมา"  คำนี้น่าจะยืมรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีกที่มีความหมายถึง "การเคลื่อนที่" ในอเมริกาเรียกขานว่า "มูฟวิงพิกเจอร์" แปลกันตรงตััวว่า "ภาพเคลื่อนได้" แล้วกระดกลิ้นเรียกย่อ ๆ ว่า "มูวี" 


มหรสพที่เข้าใจว่าเป็นภาพเคลื่อนได้นี้  ถูกนำไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น ก็เรียกว่า "เองะ" แปลว่า "สะท้อน"  คนจีนในญี่ปุ่นเรียกว่า  "เหยินจิง" แปลว่า "เงาไฟฟ้า" ครั้นพ่อค้าชาวญี่ปุ่นเอาเข้ามาบ้านเราคนไทยก็เรียกมหรสพนี้ว่า "หนังญี่ปุ่น"  คือเห็นมันมาทางไหนก็เรียกตามทางที่มันมา


ผมคิดว่า ที่เราเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า  "หนัง" ก็เพราะมีการแสดงตัวคล้ายกับ "หนัง" ซึ่งเป็นมหรสพดั้งเดิมของเ้รา  ค่อย ๆ คิดดูสิครับ  เรามีหนังตะลุง มีหนังใหญ่ และมีลักษณะที่คล้ายกันคือ มีตัวแสดงเป็นภาพเคลื่อนได้ เคลื่อนไหวด้วยแสงเงาบนจอผ้าโปร่งขาว  เรามีมานานแล้วมีมาก่อนแล้ว  แต่พอมีของใหม่เข้ามาเห็นว่าลักษณะคล้ายหนังของเรา ก็เลยเรียก "หนังญี่ปุ่น"



ช่วงปลายรัชการที่ ๕ มีคำเรียกอีกคำหนึ่งว่า  "หนังภาพยนตร์" บางที่ก็เรียกว่า "รูปยนต์" ต่อมาเรียกแยกเป็นสองคำ คือ "หนัง" ตามชาวบ้านเรียก และคำว่า "ภาพยนตร์" เรียกตามภาษาราชการและภาษาเขียน


ในภาษาอังกฤษมีคำเรียกมหรสพภาพเคลื่อนไหวได้อยู่คำหนึ่ง คือ "ฟิล์ม" แปลว่า เยื่อบาง หมายถึงวัสดุที่เป็นตัวฐานรองรับต้นฉบับของภาพเคลื่อน ปัจจุบันฟิล์มพัฒนาไปไกลสุดแล้ว ถ้าจะมาตรองกันแบบความน่าจะเป็นผมว่ามหรสพภาพเคลื่อนที่เรียกว่า หนัง น่าจะตรงกับคำว่า ฟิล์ม ในภาษาอังกฤษ

ตรงกันตรงไหน ก็ตรงกันที่มหรสพดังเดิมคือหนังของเรามีวัสดุรองรับต้นฉบับของภาพ นั่นคือหนังวัวหนังควายที่รีดให้บาง แล้วทำเป็นตัวหนัง  คนปักษ์ใต้บางจังหวัดเรียกหนังตะลุงว่า "หนังควาย"ด้วยซ้ำไป ส่วนคำว่า "ภาพยนตร์" ถ้าจะแปลให้ดี ก็คือ ภาพที่ (มี) เครื่องกลไกลหรือภาพที่เคลื่อนได้ เพราะยนตร์คือหมายถึงการหมุนเลื่อนเคลื่อนไป




เดิมหนังยังไม่มีเสียง เรียกว่า "หนังเงียบ" หลังจากปี พ.ศ ๒๔๗๐ เริ่มมีหนังเสียงในตัวเองดังออกมาจากจอ คือมีเสียงพูด  จะว่าไปหนังเงียบเมื่อยุคเจ็ดสิบปีก่อนก็ไม่ใช่ว่าจะเงียบเป็นใบ้เสียที่เดียว  หนังสมัยนั้นเวลาฉายตามโรงจะมีการบรรเลงดนตรีประกอบหนังบนจอด้วย เป็นดนตรีเล่นสด ๆ  เครื่องคนตรี บางทีก็เป็นเีปียโน หรือ ออร์แกน ชิ้นเดียว จนถึงยกกันมาเป็นมโหรีวงใหญ่ทั้งวงก็มีหรือเป็นดนตรีัแห้งจากเครื่องเล่นจานเสียง


นอกจากนั้นเวลาที่หนังมีผู้แสดงพูดกันก็จะมีตัวหนังสือมาปรากฏให้ผู้ชมอ่านพอเป็นที่เข้าใจกัน ลองนึกดูสิครับว่ามันสนุกขนาดไหนในสมัยนั้น  บรรยากาศแบบนี้เหมือนกับหนังตะลุงบ้านเรา  คือเหมือนมีมนต์สะกดให้ผู้ชมอยู่ในภวังค์ของหนังอย่างหมดต้ว ชนิดที่ไม่เคยมีมหรสพไหนทำได้ พอมีหนังเสียงที่มีทั้งระบบเสียงรอบทิศทาง  และไม่ว่าจะพัฒนาระบบเสียงให้สมบูรณ์แบบใดก็ยากที่จะเรียนบรรยากาศลี้ลับแบบหนังเงียบกลับมาได้ นานเข้าพอมีหนังเสียงเป็นตัวตน หนังเงียบก็ถูกกลืน แล้วตายจากตลาดหนังสูญพันธุ์ชนิดที่ไม่มีใครโง่สร้างอีกต่อไป


ในวงการประวัติศาสตร์ศิลปะภาพยนตร์ (หนัง) เขายอมรับกันว่า หนังเ้งียบที่มีสีขาวดำนี้เป็นศิลปะที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง  ถือเป็นศิลปวิทยาการของหนังที่รุ่งเรืองถึงที่สุดแล้ว ยุคของหนังต่างหากที่ทำให้ศิลปวิทยาการของหนังตกต่ำลง


จนถึงปัจจุบัน  หนังพัฒนาไปไกลมาก  ถึงขั้นสร้างตัวแสดงด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องใช้นักแสดงก็ได้  แต่หากดูกันที่พัฒนาการทางศิลปวิทยาการของหนัง  ก็มิได้ก้าวไกลไปกว่าการสั่งสมในยุคหนังเงียบเลย พูดง่าย ๆ หนังในปัจจุบันมีแต่การฟื้นฟูและพลิกแพลงหยิบเอาของเก่ามาใช้เท่านั้น


จึงเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดีที่ว่า  ทำไมหนังที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานศิลปะชั้นเยี่ยมของโลกจึงตกเป็นของหนังเงียบและหนังขาวดำ.....!!!!!







หนังเงียบคว้ารางวัล (ไทยโพสต์)ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เว็บไซต์ทางการภาพยนตร์ The Artist

          The Artist หนังเงียบที่สร้างขึ้นเพื่อคารวะหนังเงียบยุคปลายทศวรรษ 1920s คว้ารางวัลใหญ่สุดของสมาคมนักวิจารณ์นิวยอร์กปีนี้ ซึ่งประกาศผลเมื่อวันอังคาร ส่วนด้านการแสดงยกให้ "เมอร์รีล สตรีพ" และ "แบรด พิตต์"




                       _____________________________________



Sampan Chanpa












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น