วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
คลี่ภาพส่องฟิล์ม 2
ยอมรับกันทั่วไปว่าภาพยนตร์เป็นเหมือนทูต และ
มัคคุเทศก์อย่างดีที่สุด ประเทศสยามเป็นที่รู้จักของนานาประเทศจากหนังเรื่อง
"นางสาวสุวรรณ" และ "ช้าง" เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นไม่น้อยเลยหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ไม่นาน บริษัททะเวนตี้เอธเซนจูรี่-ฟอกซ์ ดำริสร้างภาพยนต์เรื่อง สำคัญคือ "แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม" (Anna and the King of Siam)
ซึ่งหนังเรื่องนี้ทำให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ผู้แต่ง คือ มาร์กาเรท แลนดอน นักเขียนสตรีชาวอเมริกัน เป็นเ่รื่องชีวิตของ นางแอนนา เลียวโนเวนส์ โดยนำเอาเรื่องเดิมสองเรื่องที่นางแอนนาแต่งชีวิตของตนไว้นานมาแล้วสองเล่มชื่อ "The English Governess At the
Siamese Court" และ '' The Romance of a Harem "มาประมวลเข้าด้วยกันแล้วแต่งขึ้นใหม่ชื่อ
"Anna and the King of Siam"เมื่อตกลงใจสร้างภาพยนตร์เรื่องที่กล่าวแล้วแน่นอน ดารีล เอฟ. ซานุค พี่เบิ้มของบริษัททะเวนตี้เอธเซนจูรี่ฟอกซ์ จัดการซื้อลิขสิทธิ์สร้างหนังด้วยราคาห้าหมื่นดอลลาร์ในขณะนั้น พอได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว มร. ซานุคจัดวางตัวผู้ดำเนินงานให้
เหมาะสมกับเรื่องหนังทันที คือมอบให้ หลุยส์ ไลตั้น เป็นผู้อำนวยการสร้าง และ จอน ครอม เวล เป็นผู้กำกับการแสดง ทั้งสองคนนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รับประกันได้ในวงการสร้างหนังฮอลลีวู้ด
ได้ตัวผู้เป็นแกนสำคัญในการสร้างหนังแล้ว ก็ถึงบทหาตัวแสดงที่เหมาะกับ
บุคลิกตัวละครในเรื่อง ซึ่งเป็นความยากลำบากมิใช่น้อย โดยเฉพาะการเลือกดาราสำหรับแสดงบทบาทของ แอนนา เลียวโนเวนส์ นั้น หนักใจผู้สร้างเป็นอันมากควรจะได้ดารามีชื่อเสียงและสามารถถ่ายทอดชีวิตแม่หม้ายครูสาวชาวอังกฤษนั้นออกมาใกล้เคียงที่สุด
พอบริษัทฟอกซ์ปล่อยข่าวออกไปทางหนังสือพิมพ์ว่าจะสร้างหนังเรื่องนี้ ประชาชนผู้สนใจก็อดไม่ได้ที่จะออกความเห็นและเสนอชื่อดาราให้บริษัทหนังพิจารณา จดหมายนับจำนวนพัน ๆ ฉบับเจาะจงให้เลือก ไอรีน ดันน์ รับบทบาทเป็น แอนนา เลียวโนเวนส์ ขณะเดียวกันพี่เบิ้มซานุค, ผู้สร้างไลตั้น และ ผู้กำกับครอมเวล ก็เห็นพ้องต้องกันเป็นการภายในมาแต่แรกว่า ไอรีน ดันน์ สมควรอย่างยิ่งจะเป็นตัวแทนของ แอนนา เลียวโนเวนส์ ภูมิหลังของ ไอรีน ดันน์ ก็เป็นดาราชื่อดังมาตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
และขณะนี้ก็กำลังอยู่ในความนิยม
เรื่องมันไม่ควรจะยากอะไรอีกเมื่อความเห็นของคนนอกและคนในตรงกันเป็นเอกฉันท์ แต่มันไม่ยักเป็นเช่นนั้น เมื่อทางบริษัทติดต่อกับ ไอรีน ดันน์ ได้รับการตอบปฏิเสธ
ว่าระหว่างนี้เธอไม่ขอรับการแสดงภาพยนตร์เรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่าขณะนั้น
สามีของเธอกำลังป่วยมาก เธอมีหน้าที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นทางบริษัทก็ต้องแสวงหาดาราอื่นที่พอจะมาทดแทนได้ เมื่อมีผู้เสนอ ดอรอธี แม็คไกวร์ ก็มีเสียงค้านว่ายังไม่เหมาะสม เพราะตอนนั้น ดอรอธี เพิ่งย่างเข้ามาสู่วงการ ชื่อเสียงยังไม่เด่นพอสำหรับหนัง
ใหญ่เช่นนี้ ต่อมามีผู้เสนอ แคธรีน เฮปเบิร์น ซึ่งเป็นดาราดังชั้นเดียวกับ ไอรีน ดันน์ แต่คณะผู้สร้างเห็นว่าท่วงทียังไม่เหมาะที่จะเป็นครู แอนนา
ระหว่างทีมงานแผนกอื่นเตรียมการอยู่นั้นก็เสาะแสวงหาหาตัวแอนนาเรื่อยไป
ยังอาจเจาะจงดาราคนใด เสมือนเป็นการลองเชิงรอ ไอรีน ดันน์ กลาย ๆ จนกระทั่ง
สามเดือนผ่านไปก็ได้ข่าวอาการป่วยของสามี ไอรีน ดันน์ ค่อยทุเล่าลงมาก ท่างบริษัท
รีบส่งตัวแทนติดต่อทันที่ แต่ได้รับการปฏิเสธอีก เพราะเธอทราบดีว่างานนี้ หนักมากและใช่เวลาเป็นแรมเดือนทีเดียว เธอยังไม่มีจิตใจและอารมณ์ปลอดโปร่งพอจะทำงานละเอียดอ่อนอันนี้ได้ แม้กระนั้นทางบริษัท ฟอกซ์ยังไม่หมดความพยายาม ส่งผู้แทนไปรบเร้าอยู่เสมอ
ต่อมาสามีของ ไอรีน ดันน์ ทราบข่าวนี้และรู้ตัวว่าอาการป่วยของตนไม่หนักหนาอะไรแล้ว
จึงสนับสนุนให้ภรรยารับแสดงได้ โดยไม่ต้องเป็นห่วงถึงตัวเขา สามีของ ไอรีนชื่อ
ดร.ฟรานซิส กริฟฟิน ครั้งหนึ่งเคยมาเที่ยวประเทศไทยและออกจะชอบมากเสียด้วย จึงสนับ
สนุนให้ภรรยาแสดงภาพยนตร์เกี่ยวกับประเทศไทยเรื่องนี้ เมื่อ ไอริน ดันน์ ยอมเซนต์สัญญาเป็นข่าวดีสำหรับแฟนของเธอ และโล่งใจแก่บริษัทฟอกซ์
ไอรีน ดันน์ ทำหน้าที่ของเธอดีเยี่ยม และได้รับการเสนอชื่อเข้าประกวดตุ๊กตาทองเหมือนกัน แต่โชคไม่ดี สำหรับปีนั้นดูเหมือนพ่ายให้กับ เจน ไว้แมน ผู้แสดงเป็นสาวใบ้อย่างเฉียดไปนิดเดียว ไอรีน ดันน์ เป็นนักกอล์ฟฝีมือดี ต่อมาเมื่อคุณหมอสามีหายป่วย แต่
จำต้องทอดทิ้งกีฬาประเภทนี้เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวยพลอยทำให้เธอหยุดเล่นไปด้วย
การเลือกดาราผู้แสดงเป็นพระจอมเกล้า ฯ ก็ยากเย็นเช่นเดียวกัน คราวแรกทีเดียวเลือก วิลเลี่ยม เพาเวล และ คอร์เนล ไวลด์ เมื่อทดลองแสดงบทพระจ้อมเกล้าฯ ให้ดูก็ไม่เป็นที่ถูกใจ มร. ครอมเวล ทั้งสองคน จึงต้องค้นหาเอามาทดลองอีกหลายคนก็ไม่เป็นที่ถูกใจ เมื่อหาตัวพระจอมเกล้าฯ ในฮอลลีวู้ดไม่ได้ก็จำเป็นต้องสั่งจากต่างประเทศ คือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ของบริษัทฟอกซ์สาขาในอังกฤษช่วยสอดส่องหาให้ คราวนี้ได้ผลทางอังกฤษ
ส่ง เร็กซ์ แฮร์ริสัน มาให้ทดลองและได้เซ็นสัญญากัน นับเป็นครั้งแรกที่ดาราอังกฤษผู้นี้ได้เล่นหนังอเมริกัน และติดอยู่ในฮอลิวู้ดเรื่อยมาจนได้ครองตุ๊กตาทองในเรื่อง "บุษบาริืมทาง"
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓
ส่วนบทบาท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ นั้น มร. ครอมเวล เลือก ลี เจ. คอบบ์ จากผู้สมัครแสดงในบทนี้จำนวนแปดคน ปูมหลังของ มร. ลี เจ. คอบบ์ เป็นนักแสดงละครบนเวทีบรอดเวย์มาก่อน เป็นผู้มีบุคลิกสมแก่บทบาทเจ้าคุณกลาโหมอย่างยิ่ง
ผู้แสดงอีกคนในบทบาทของเจ้าจอมทับทิมก็เสมือนประชาชนเป็นผู้เลือกให้
กล่าวคือมีผู้นิยมดูหนังจำนวนหลายพันเขียนจดหมายเสนอมายังบริษัทฟอกซ์ให้เลือก
ลินดา ดาร์เนล ซึ่งทางบริษัทก็เห็นพ้องด้วย สำหรับบทบาทเจ้าจอมเที่ยง เมื่อประกาศหา
ผู้สมัครพร้อมด้วยคุณสมบัติที่ต้องการ ได้ผู้สมัครมาให้คัดเลือกสี่คน ผู้ที่ได้รับเลือกหลังจากทดลองถี่ถ้วนแล้วคือ เกล เซอนเดอร์การ์ด
การคัดเลือกผู้แสดงต่อ ๆ มาก็ค่อยง่ายลงตามลำดับความสำคัญของแต่ละคน
ที่สำคัญยิ่งคือได้มีคนไทยผู้หนึ่งร่วมอยู่ในคณะผู้สร้างตั้งแต่แรกเริ่มเปิดกล้องจนปิดเรื่อง
บุคคลผู้นั้นคือ คุณสวัสดิ์ นิติพน ซึ่งบริษัทฟอกซ์เชิญให้เป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับเรื่องเมืองไทย ตั้งแต่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนการสร้างฉาก การหาเครื่องใช้ ภาชนะต่าง ๆ มาประกอบ ในฐานะคุณสวัสดิ์เป็นสถาปนิกที่สำเร็จปริญญามาแล้ว จึงให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์มาก แม้บางอย่างฝ่ายผู้สร้างทำคลาดเคลื่อนและผิดพลาดไป
คุณสวัสดิ์ ได้พยายามคัดค้านไปแล้วเพื่อความถูกต้อง บางอย่างก็แก้ไขได้ บางอย่างก็ต้อง
อนุโลมตามเขาไป เพราะหลักของฮอลลีวู้ดนั้นทำอะไรออกมาต้องสนุกสนาน และได้เฮฮาหัวร่อกัน การผ่อนสั้นผ่อนยาวกันบ้างจึงทำให้งานดำเนินไปได้ถึงจุดหมายปลายทาง
แม้เรื่อง "แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม" สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่คณะผู้สร้างยังไม่มั่นใจในหนังของตน เป็นการสร้างหนังประเภทโบราณเกี่ยวแก่ประเทศไทยเสียด้วย เก่งไม่ถูกว่าชาวอเมริกันจะต้อนรับหรือไม่ ดังนั้นบริษัทฟอกซ์จึงลองของแอบนำหนังไปฉายเงียบ ๆ ที่เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเพียงคืนเดียว เพื่อต้องการขอความเห็นใจจากประชาชน
และเชิญผู้แทนหนังสือพิมพ์จำนวนมากไปวิจารณ์กันเพียบที่เดียว ผลคือบรรดาหนังสือพิมพ์ทั้งหลายยกย้องว่า เป็นหนังที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในรอบปี ไอรีน ดันน์ แสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด
ในชีวิตการแสดงของเธอและจอน ครอมเวล กำกับการแสดงได้อย่างไม่มีที่ตำนิ
จากเสียงหนังสือพิมพ์นี่เองทำให้บริษัทฟอกซ์ดำริให้มีงานวันพรีเมีย คือฉายปฐมฤกษ์ขึ้นในฮอลลีวู้ดและจัดให้เป็นรอบเก็บเงินบำรุงการกุศล ไม่มีใครได้รับบัตรฟรี แม้แต่
พวกดาราก็ต้องซื้อตั๋วเอง
รอบพิเศษปฐมฤกษ์กำหนดฉายที่่โรงภาพยนร์ชื่อ "กรอมัน ไชนีส เธียร์เตอร์" เป็นโรงหนังเก่าแก่ของฮอลลีวู้ด เจ้าของเดิมชื่อ ซิด กรอมัน เป็นผู้ค้าภาพยนตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๓ จุคนดูได้ห้าพันที่นั่งเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของฮอลลีวู้ดที่ปฏิบัติกันมานมนานแล้ว หนังเรื่องเอกของบริษัทใดก็ตามถ้าได้ฉายรอบปฐมฤกษ์ที่นี่นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง เฉพาะรอบพิเศษเก็บเงินการกุศลนี้เพิ่มราคาค่าดูกว่าปกติอีกเ้ท่าตัว แม้กระนั้นพอมีตั๋วออกมาขายก็มีผู้สั่งจองหมดภายในสองวัน
การฉายรอบพิเศษนี้มีพิธีรีตองมากสักหน่อยทั้งภายในและภายนอกโรง ที่หน้าโรงนั้นเขาสร้างเป็นที่นั่งอัฒจันทร์แบบที่นั่งดูฟุตบอล สำหรับให้แฟนภาพยนตร์จองที่นั่งคอยดูพวกดาราที่จะมาดูหนังรอบนี้ บริษัทฟอกซ์สร้างไว้เป็นพิเศษนั่งได้ประมาณสามพันคน
เมื่อที่นั่งบนอัฒจันทร์เต็มหมดแล้วก็ยังมีประชาชนสมัครใจยืนเรียงแถวกันริมถนนทั้งสองฟาก
อีกหลายพันคน บริเวณหน้าโรงหนังตลอดจนสองฟากถนนประดับธงทิวและไฟฟ้าสลับสีต่างๆ แล้วยังมีเจ้าหน้าที่คอยกระจายเสียงขณะที่พวกดาราก้าวลงจากรถ บอกให้ประชาชน
ทราบว่าใครเป็นใครบ้าง
เป็นธรรมดาเมื่อหนังสือพิมพ์ทั้งหลายต่างประโคมกันครึกโครมว่ามีดาราทุกบริษัทไปชุมนุมกันฉายรอบ พรีเมีย คราวนี้มากที่สุด พวกล่าลายเซ็นต่างเตรียมตัวขอลายมือดารากันอุตลุด
ส่วนภายในโรงนั้นเล่าเมื่อผู้ถือบัตรทยอยกันเข้าไปนั่งประจำที่จนเต็มแล้ว ก็มีการสัมภาษณ์และกล่าวปราศรัยตามธรรมเนียม ดารีล เอฟ. ซานุค เป็นแม่งานได้เชิญ แฮร์รี
คร็อกเก้อร์ นักเขียนลือนามของบริษัทเฮิร์สท์ ประจำหนังสือพิมพ์ลอสแอนเจเลสเอ็กแซไมเนอร์ เป็นพิธีกรงานยนี้ คร็อกเก้อร์กล่าวแนะนำ ไอรีน ดันน์ เป็นคนแรก ซึ่งได้รับการปรบมือต้อนรับสนั่นโรง ต่อจากนั้น ไอรีนกล่าวคำปราศรัยต่อผู้มาชม และให้สัมภาษณ์
เมื่อถึงคราวแนะนำ เร็กซ์ แฮร์ริสัน ผู้เป็นดารา อังกฤษ แต่กลับได้มีโอกาศได้ชิงดีจากดาราอเมริกันทั่วฮอลลีวู้ดไปได้ ซึ่งทำให้ เร็กซ์ แฮร์ริสัน ต้องปราศรัยถ่อมตัวเป็น
พัลวันตามระเบียบ
ครั้นการฉายรอบพิเศษผ่านไปเรียบร้อยแล้ว วันรุ่งขึ้นก็
เริ่มรอบธรรมดา ซึ่งเฉพาะในฮอลลีวู้ดฉายสามโรงพร้อมกัน เริ่มที่ โรงเลียวสเตท
ถนนบรอดเวย์ เวลา ๑๐.๐๐ น. กรอมัน ไชนีส เวลา ๑๒.๐๐ น. และที่โรงฟอกซ์อัปทาวน์ เวลา
๑๒.๑๕ น. โรงภาพยนตร์ทั้งสามแห่งนี้ล้วนขนาดใหญ่ทั้งนั้น ฉาย
วันละสามรอบ ในอัตราค่าดูคนละสองดอลลาร์ล....!!!!!!
ไอรีนดันน์ในแอนนาและกษัตริย์แห่งสยาม
____________________
Chanpa
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น